วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติของ วินเซนต์ แวนโก๊ะ


ชีวประวัติ วินเซนต์ แวนโก๊ะ
Vincent Van gogh

         วินเซนต์ แวน โก๊ะ ถูกยกย่องให้เป็นจิตรกรชาวดัชท์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าชื่อเสียง ของเขาเพิ่งจะมาโด่งดังเอาในช่วง 3 ปีสุดท้ายของชีวิตการเป็นจิตรกรตลอด 10 ปี ก็ตาม แต่เขาก็ได้สร้างอิทธิพลต่อ ศิลปะแบบอิมเพรสเช่นนิสท์ แบบโมเดินท์ อารต์ เอาไว้มากมาย สร้างผลงานภาพเขียนสีน้ำมันกว่า 800 ภาพ และภาพวาดอีกกว่า 700 ภาพ ซึ่งตลอดชีวิตของเขานั้นมีเพียงภาพเดียวที่ขายได้ ความเจ็บป่วยทางสมอง และจิตใจของ แวน โก๊ะนั้นแสดงออกมาทางภาพที่เขาเขียน ด้วยการใช้สีอันร้อนแรง การปัดพู่กันแบบหยาบๆ และรูปแบบของลายเส้นที่ใช้จนในที่สุดก็ได้ผลักดันให้เขา จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย

วินเซนต์ แวน โก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ปี ค.ศ. 1853 ที่ซันเดิรท์ ย่านบราแบรนท์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ วินเซนต์เป็นบุตรชายคนโต บิดาเป็นนักบวชนิกาย โปรแตสแตนท์ เมื่อแวนโก๊ะอายุได้ 16 ปี เขาได้ไปฝึกงานขายภาพศิลปะที่ฮูเก้นท์ เขาทำงานขายภาพทั้งในลอนดอน และปารีสไปจนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1876

แวน โก๊ะก็เริ่มตระหนักว่า เขาไม่ชอบงานขายภาพที่เขาทำอยู่เลยประกอบกับถูก ปฏิเสธความสัมพันธ์จากหญิงที่ตนรัก ทำให้เขาเริ่มทำตัวออกห่างจากผู้คนมากขึ้น และตัดสินใจที่จะออกบวช แต่เขาก็ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขา ไม่สามารถผ่านการทดสอบให้เข้ามาเป็นนักบวชได้ ในที่สุดเขาก็กลายเป็นนักเทศน์ไป และในปีค.ศ.1878 เขาได้เดินทางไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบลเยี่ยมเพื่อทำการ เผยแพร่ศาสนา โดยพกพาเอาความยากจนค่นแค้นไปตลอดการเดินทางจากการเดินทาง ครั้งนี้ แวนโก๊ะ ได้มีปากเสียงกับนักเทศน์ผู้อาวุโส ทำให้เขาถูกขับออกจากกลุ่มในปี ค.ศ.1880 ในสภาพของคนสิ้นไร้ และสูญเสียความเชื่อของตนไป เขาจมอยู่กับ ความผิดหวัง และได้เริ่มเขียนรูป แต่ในไม่ช้าเขาก็ตระหนักได้ว่า เขาไม่สามารถที่จะ เรียนรู้การเขียนภาพด้วยตนเองได้ ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจเดินทางไปบรัสเซลเพื่อเรียน การเขียนภาพ

ในปี ค.ศ.1881 แวน โก๊ะได้กลับมาทำงานที่ฮูเก้นท์อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มทำงานกับ ช่างเขียนภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ชื่อ อันตน มัวร์ ฤดูร้อนของปีถัดมาได้เริ่มการทดลอง การเขียนภาพด้วยสีน้ำมัน และด้วยเสียงเรียกร้องภายในจิตใจของ แวน โก๊ะ ให้ไปใช้ ชีวิตตามลำพังอยู่กับธรรมชาติ ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางไปยังหมู่บ้านของชาวดัชท์ เพื่อเริ่มการเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงามตามท้องที่ต่างๆ เขาใช้ชีวิตในแต่ละวันไปกับ การเขียนถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเขา ในปี ค.ศ.1883 เขาได้สร้างงานเขียนภาพชิ้นแรก ขึ้นมา โดยให้ชื่อภาพว่า " โปเตโต อีทเตอร์ "

เมื่อความเหงาและความอ้างว้างเริ่มเข้ามาแกาะกุมจิตใจของ แวน โก๊ะ เขาจึงออกจาก หมู่บ้านและเข้าศึกษาต่อที่ แอนท์เวอป์ ในเบลเยี่ยม แต่เขาเองก็ไม่ได้ใส่ใจที่จะปฏิบัติ ตามกฎของการเรียนที่นั่นมากนัก ช่วงที่เรียนอยู่ที่แอนเวอป์ เขาได้รับแรงบันดาลใจ จากจิตรกรที่ชื่อ ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ และได้เริ่มสนใจภาพพิมพ์ของญี่ปุ่นด้วย ในที่สุด เขาก็ได้เลิกเรียน เพื่อไปยังปารีส ทีนั่นเขาได้พบกับ เฮนรี่ เดอ ตัวรูส และจอร์จีนส์ รวมทั้งศิลปินอิเพราสเช่นนิสท์อีกหลายคน เช่น คามิล ปิสซาโร โซรัส และคนอื่น ๆ การใช้ชีวิต 2 ปีเต็มที่ปารีสนั้น ได้ขัดเกลาฝีมือในการเขียนภาพของ แวน โก๊ะ ให้ เฉียบคมยิ่งขึ้น เขาเริ่มใช้สีสันที่มีชีวิตชีวา และไม่ยึดติดอยู่กับการเขียนภาพแบบเก่าๆ

วินเซนต์ แวน โก๊ะ ใช้ชีวิตในตัวเมืองปารีส ได้สักพักก็เริ่มเบื่อ เขาจึงออกจากปารีส ไปในปี ค.ศ.1888 เพื่อไปยังเมืองอาเรสทางตอนใต้ของฝรั่งเศษ ที่เมืองอาเรสนั้นแวน โก๊ะได้เช่าบ้านหลังหนึ่ง แล้วตกแต่งบ้านด้วยสีเหลืองทั้งหมด เขาหวังที่จะตั้ง กลุ่มศิลปินอิมเพรสเช่นนิสท์ขึ้น ในเดือนตุลาคม จอร์จีนส์ได้มาอยู่ร่วมกับเขาแต่ ความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็ต้องขาดสะบั้นลงในคืนวันคริสตมาส อีฟ จอร์จีนส์ ได้โต้เถียงอย่างรุนแรงกับแวน โก๊ะ ทำให้แวน โก๊ะ เกิดบ้าเลือดขึ้นมาแล้วตัดใบหู ของตัวเอง ทำให้จอร์จีนส์จากไป และตัวของเขาเองต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การแสดงอาการต่างๆ ของแวน โก๊ะ นั้น ทำให้เห็นถึงสภาพจิตใจและประสาทที่ผิดปกติ ในที่สุดเขาก็ต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลบ้า เป็นเวลา 1 ปีเต็ม เมื่อ แวน โก๊ะ ออกจากโรงพยาบาล เขาได้ไปอาศัยอยู่กับศิลปิน นักฟิสิกส์ ได้ประมาณ 2 เดือน และในวันที่ 27 กรกฎาคมของปี ค.ศ.1890 เขาได้ยิงตัวเอง และเสียชีวิตในอีก 2 วันต่อมา

ช่วงชีวิตของ แวน โก๊ะตอนที่อยู่ที่อาเรสนั้น ได้สร้างผลงานเขียนภาพที่ยิ่งใหญ่เอาไว้ มากมาย เขาเขียนภาพของธรรมชาติอันงดงาม ภาพทุ่งหญ้ายามต้องแสงอาทิตย์ ภาพของดอกไม้นานาชนิด และภาพดอกไอริสที่มีชื่อเสียงนั้นสามารถขายได้ถึง 53.9 ล้านดอลลาร์ในเวลานั้น
  • ค.ศ.1353 วินเซนต์ แวนก๊อก เกิดเมื่อวันที่30 มีนาคม ประเทศ ฮออลแลนด์
  • ค.ศ.1894-68 ศึกษาชั้นต้นในท้องถิ่น
  • ค.ศ.1869 เริ่มทำงานในห้องภาพกูปีล์ในกรุงเฮก เมื่ออายุ16ปี
  • ค.ศ.1873-76 เริ่มสนใจเรื่องศาสนา หลังจากลาออกจากงานในห้องภาพได้ไปเป็นครูที่โรงเรียนในแรมสเกท เมืองเล็กๆในอังกฤษ ต่อมาย้ายไปสอนและเทศน์ที่ไอเวิลเวิร์ธ เมืองเล็กๆใกล้กรุงลอนดอน
  • ค.ศ1877 สอบเข้าคณะเทววิทยาที่มหาลัยอัมสเตอร์ดัม แต่ได้ละทิ้งการศึกษาและจุดมุ่งหมายด้านนี้เสียในเวลาต่อมา
  • ค.ศ.1878-79 เป็นนักเทศน์ผู้จาริกไปในเขตเหมืองแร่เมืองบอริเนจในเบลเยี่ยมอุทิศตนให้กับชาวเหมือ งที่วาสเมอใกล้เมืองมอนส์ โดยพยายามแก้ไขปัญหาความยากแค้นอย่างเต็มทีแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มากนัก ถึงแม้จะมีศรัทธาในศาสนาอย่างลึกซึ้ง แต่เขารู้สึกเหมือนถูกเรียกร้องให้เป็นศิลปินมากกว่า
  • ค.ศ.1880-85 ปี1880-81 ได้ไปศึกษากับจิตกรหลายคนในกรุงบรัสเซลส์ ศึกษาในกรุงเฮกในปี1881-83และที่เมืองแอนทะเวิร์ป ระหว่าง ค.ศ.1885-86 พร้อมกับศึกษาและเขียนภาพชีวิตชนบทของชาวเหมืองและชาวไร่ชาวนา ภาพคนกินมันฝรั่งเป็นผลงานที่แสดงอิทธิพลการเขียนแบบเก่าของดัตช์
  • ค.ศ.1886-87 ย้ายไปอยู่กับธีโอน้องชายที่ปารีส ธีโอทำงานอยู่ในห้องภาพที่นั่น ดังนั้นจึงเป็นผู้กว้างขวางและรู้จักศิลปินในแวดวงหลายคน แวนก๊อกรู้จักกับศิลปินกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสต์และสนใจศึกษาเทคนิคภาพเขียนของแปร์ตองก ีเป็นแนวทางเขียนภาพของเขา สีที่สดขึ้น การป้ายสีเป็นไปอย่างอิสระและเส้นสายเป็นลูกคลื่นที่ได้แบบอย่างจากภาพเขียนของญีปุ่ นในช่วงชีวิตนี้ธีโอคือผู้ช่วยเหลือสำคัญทั้งด้านการเงินและทางอารมณ์ของแวนก๊อก ซึ่งถูกกดดันเนื่องจากผลงานไม่เป็นที่ยอมรับ
  • ค.ศ.1888 ป่วยเป็นโรคจิตและทะเลาะกับโกแกงจนถึงกับตัดหูข้างซ้ายของตน ต่อมาได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองอาร์เลส แชร์ทเรอมีและอูฟร์
  • ค.ศ.1889-90 ย้ายไปอยู่ที่อาร์เลสเมืองชนบทในฝรั่ง เป็นระยะที่มีการพัฒนาทางศิลปะอย่างสมบูรณ์ แต่ละภาพเต็มไปด้วยความรู้สึกอันรุนแรงของตัวจิตรกรที่รู้สึกต่อสิ่งแวดล้อม การปรากฎของสิ่งต่างๆประจำวัน ถูกแปรเป็นแผ่นสีที่สดใสและเส้นสายที่สั่นสะเทือนเป็นลูกคลื่น อันเป็นสัญลักษณ์ของพลังสากลที่ควบคุมสรรพสิ่งในโลกไว้ ผลงานชิ้นเยี่ยมในข่วงนี้คือ ต้นไซเปรสกับหมู่บ้าน บ้านนาหลังใหญ่และดอกทานตะวัน
  • วินเซนต์ แวน โก๊ะ จบชีวิตด้วยการยิงตัวตายในวัย37ปี                      
                                                       ผลงานเพิ่มเติมของวินเซนต์  แวนโก๊ะ
     
Starry Night Over The Rhone
วาดในปี ค.ศ.1888 ขนาด 72.5 x 92 ซม.
วินเซนต์ แวน โก๊ะ ได้ใช้เวลาเกือบหนึ่งปีเต็มในการเขียนรูป " Starry Night " ขึ้นมาภาพนี้ได้ แสดงถึงภาพของดวงดาวที่ส่องแสงเจิดจรัสท่ามกลางความมืดมิดในยามค่ำคืน เพื่ออวดรัศมีแข่งกับแสงสว่างอันจอมปลอมที่ส่องจากตึกรามบ้านช่องบนริมฝั่งของแม่น้ำ ภาพของหนุ่มสาวที่เดินเคียงคู่กันในด้านหน้าของภาพนั้นคล้ายกับภาพของคู่หนุ่มสาวในภาพ " Landscape with Couple Walking and Crescent Moon " ภาพทั้งสองภาพนี้ วินเซนต์ได้เขียนรูปชายที่เดินเคียงข้างหญิงสาวผู้นั้น แทนตัวของเขาเอง โดยสามารถสังเกตได้จากผมของชายในภาพซึ่งเป็นสีแดงเหมือนกับผมของตัวเขาแต่ต่างกันที่ในชีวิต จริงของวินเซนต์แล้ว เขาหาได้มีหญิงสาวใดมาเดินเคียงข้างเขาไม่

The Starry Night
วาดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1889
เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนพื้นผ้าใบ ขนาดภาพ 72 x 92 ซม. (29 x 36 1/4 นิ้ว)
สถานที่แสดง The Museum of Modern Art เมืองนิวยอร์ก
วินเซนต์ได้กล่าวถึงภาพ " Starry Night " นี้ว่า "ฉันกำลังประสบกับปัญหาอย่างมากใน การเขียนภาพของยามค่ำคืน ถ้าพูดให้ถูกแล้วก็คือ การถ่ายถอดภาพลงบนผืนผ้าในเวลา กลางคืนก็ได้ " ภาพของแสงสีในยามค่ำคืนนั้น เป็นภาพที่เขาใฝ่ฝันอยากเขียนขึ้นและความฝันของเขาก็ได้กลายมาเป็นความจริง เมื่อเขาตัดสินใจย้ายมา อยู่ที่เมืองอาเรส ในเดือนกุมภาพันธ์ของปี ค.ศ. 1888 ในจดหมายเขาได้กล่าวไว้ว่า

" ในชีวิตของจิตกรแล้ว ความตายอาจไม่ใช่ความยากลำบากที่สุดในชีวิต ฉันสามารถพูดได้ว่า ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย แต่เมื่อฉันได้มองดูดวงดาวแล้ว ฉันก็เริ่มนึกคิดจุดดำมืดที่แสดง ถึงภาพของเมือง และหมู่บ้านในแผนที่ ทำให้ฉันคิดว่าทำไมมนุษย์เราถึงได้ให้ความสำคัญของ จุดดำมืดที่อยู่บนแผนที่ของฝรั่งเศษ มากไปกว่า แสงสว่างอันแท้จริงที่ส่องตรงมาจากสวรรค์ มันก็คงเหมือนกับการที่เราเลือกไป รถไฟเพื่อจะไปยังทาราสคอน หรือโรน หรือเราจะเลือก เอาความตายเพื่อจะไปให้ถึงดวงดาวบนฟ้านั่น "

Vincent’s Bedroom
ตั้งแต่วินเซนต์ได้ทราบข่าวจากโกแกง ว่าเขาจะเดินทางมาร่วมกับ วินเซนต์ที่บ้านสีเหลืองนี้ วินเซนต์ก็ได้จัดเตรียมทุกอย่างเพื่อคอย การมาของเพื่อนของเขา เขาตกแต่งบ้านเสียใหม่โดยเขียนภาพอีก หลายภาพขึ้นเพื่อใช้ตกแต่งฝาผนัง และห้องนอนของโกแกง ภาพห้องนอนของวินเซนต์นี้ เมื่อตอนที่เขาอยู่ที่เซนต์เรมี ได้สร้างภาพจำลองขึ้น อีกสองภาพจากภาพต้นฉบับจริงที่เขาเขียนขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมของ ปี ค.ศ.1888 ในขณะที่เขากำลังรอคอยให้โกแกงมาพักอยู่ด้วย วินเซนต์ได้ยกย่องให้ภาพนี้เป็นหนึ่ง ในภาพที่ดีที่สุดของเขา โดยได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายถึง ธีโอพี่ชายของเขาว่า

" ถ้าจะให้พูดถึงภาพนี้แล้ว การได้มองดูภาพนี้ก็เปรียบเสมือนการได้พักผ่อนสมอง และปลดปล่อยจินตนาการให้เพ้อฝันไกลออกไป " ภาพห้องนอนของวินเซนต์ได้กลายมา เป็นภาพที่มีชื่อเสียงในทางศิลปะ ความเรียบง่ายของภาพ แสดงให้เห็นถึง ครรลองของชีวิตที่สมถะ และเรียบง่าย หรือในอีกแง่หนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า ภาพนี้ได้แสดงถึงมุมมองของ ศิลปินในยุคโรแมนติคผู้หนึ่ง ซึ่งอุทิศชีวิตทั้งชีวิตเพื่อทุ่มเทให้กับงานศิลปะเท่านั้น

Vegetable Gardens in Montmartre
วาดในปี ค.ศ.1887 ขนาดภาพ 96 x 120 ซม.

Landscape at Saint-Romy วาดเมื่อปี ค.ศ.1889
สถานที่แสดง Ny Carlsberg Glypotek เมือง Copenhagen
Still Life With Four Sunflowers
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ. 1887 เมือง Otterlo

Montmartre

View of Arles with Irises
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1888 ขนาดภาพ 54 x 65 ซม.

Irises (pink/gree)
วาดภาพเมื่อ พ.ค. ปี ค.ศ.1890
เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนพื้นผ้าใบ ขนาดภาพ 73.7 x 92.1 ซม.
สถานที่แสดง The Metropolitan Museum of Art เมืองนิวยอร์ก

Trees in the Asylum Garden
วาดภาพเมื่อปี ค.ศ.1889
เป็นภาพวาดสีน้ำมันบนพื้นผ้าใบ
ขนาดภาพ 73 x 60 ซม. (28 3/4 x 23 3/4 นิ้ว)
ประเทศสหรัฐอเมริกา

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติของ วอลเตอร์ อีเลียส ดิสนีย์



ประวัติดิสนีย์

 วอลเตอร์ อีเลียส ดิสนีย์ (Walter Elias Disney) (5ธันวาคม 2444 - 15 ธันวาคม 2509,ค.ศ. 1901-1966) เป็นผู้สร้างผลงานการ์ตูนที่แพร่หลาย และประสบความสำเร็จมากที่สุดของโลกคนหนึ่ง เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท วอลต์ ดิสนีย์ และเป็นคนสร้างภาพยนตร์การ์ตูนสีเป็นคนแรก เขาเริ่มทำการ์ตูน มิกกี้เม้าส์ (Mickey Mouse)และ โดนัลด์ดั๊ก (Donald Duck) และเริ่มทำหนังยาว เช่น สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (Snow White and the Seven Dwarfs), แฟนตาเซีย (Fantasia), พินอคคิโอ (Pinocchio) และ แบมบี้ (Bambi)


ตลอดเวลา 43 ปีในอาชีพของดิสนี่ย์ เขาเป็นผู้พัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพยนตร์ให้ทันสมัยมากขึ้น เป็นผู้ริเริ่มการสร้างสรร ผลงานที่มีจินตนาการสูง ทำให้ได้ผลงานที่คนทั้งโลกประทับใจไม่รู้ลืม โดยดิสนี่ยได้รับรางวัลออสการ์ไปถึง48รางวัล และ รางวัลเอมมี่ อีก7รางวัล

วอล์ท ดิสนี่ย ( วอลเตอร์ เอเลียส ดิสนี่ย์ )ผู้ให้กำเนิด มิคกี้ เมาส์ และเป็นผู้ก่อตั้งสวนสนุกดังระดับโลกอย่าง ดิสนี่ย์ เวิร์ลด์ เกิดเมื่อ ธันวาคม 1901 ที่ชิคาโก้ รัฐอิลลินอยส์ เติบโตในครอบครัวชาวนาในมิสซูรี่ ดิสนี่ย์เริ่มสนใจในการวาดรูปเมื่ออายุ ปี และสนใจในการเรียนวาดรูปและถ่ายรูปเมื่ออยู่ที่แม็คคินเลย์ ไฮสคูล
ในปี1918 ดิสนี่ย์ก็ได้ เข้าร่วมกับหน่วยกาชาติ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่พอหลังจากสงครามโลกครั้งที่1สงบ ดิสนี่ย์ก็กลับไปยังแคนซัส ซิตี้ ที่ๆเขาเริ่มทำงานด้านการเขียนการ์ตูนประกอบโฆษณาที่นี่ ในปี1920 ดิสนี่ย์ได้ออกแบบ ตัวการ์ตูนที่เป็นแบบฉบับของตัวเองและ เรียนรู้วิธีที่จะทำให้ตัวการ์ตูนนั้นเคลื่อนไหวได้


ในเดือนสิงหาคมปี 1923 ดิสนี่ย์ก็ไปที่ฮอลลิวู้ดเพื่อก่อตั้งสตูดิโอที่นั่น และในปี1928 ดิสนี่ย์ได้สร้าง มิคกี้ เมาส์ และ ปรากฎครั้งแรกในหนังการ์ตูนเงียบที่ชื่อว่าPlane Crazy แต่ว่า ก่อนที่การ์ตูนเรื่องนี้จะออกฉายนั้น ก็เริ่มมีการนำเสียงมาใส่ในภาพยนตร์ ทำให้มิคกี้เมาส์ก็ได้ปรากฎอยู่ในหนังการ์ตูนที่มีการใส่เสียงเรื่องแรกในโลกที่มีชื่อว่า Steamboat Willie ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 1928


ดิสนี่ย์ก็ได้พัฒนาเทคนิคการทำภาพยนตร์ต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด เทคนิคการใส่สีในภาพยนตร์อนิเมชั่นก็ถูกนำมาใช้ในหนังอย่าง Silly Symphonies ปี 1932 หนังเรื่องFlowers and Treeของ Walt ก็ได้รับรางวัลออสการ์ครั้งที่32 ในปี1937 ดิสนี่ย์ได้สร้างหนังเรื่อง The Old Millซึ่งเป็นหนังสั้นที่นำเอาเทคนิคของmultiplane camera มาใช้


ในวันที่ 21 ธันวาคม ปี1937 ดิสนี่ย์ก็ได้ถือกำเนิด สโนว์ไวท์และคนแคระทั้งซึ่งเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่นเพลงเรื่องแรกของเขา และทำรายได้สูงในสมัยนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์การ์ตูนชุดยาวของดิสนี่ย์ และก็มีเรื่องอื่นๆตามมาอย่าง พิน็อคคิโอ้ แฟนตาเซีย ดัมโบ้ และ แบมบี้


ในปี1940 เบอร์แบงค์สตูดิโอของดิสนี่ย์ก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยมีเจ้าหน้าที่มากกว่า 1000คน ซึ่งประกอบด้วย ช่างศิลป์ อนิเมเตอร์ คนเขียนบท และ ฝ่ายเทคนิค ดิสนี่ย์ก็ใช้เวลาในสตูดิโอนี้เพื่อการสร้างหนังการ์ตูน ซึ่งรวมแล้ว ทั้งหมดก็มีด้วยกันถึง81เรื่องด้วยกัน และผลงานของดิสนี่ย์ก็เป็นสื่อที่ให้การเรียนรู้ได้มากพอๆกับความบันเทิง จนทำให้ได้รับรางวัลจากเรื่องTrue-Life Adventure ซึ่งมีหนังย่อยๆอย่างThe Living Desert,The Vanishing Prairie,The African Lion,และWhite Wilderness โดยหนังเหล่านี้ได้พูดถึงการใช้ชีวิตของสัตว์ป่าทั่วโลก
โดยปัจจุบันได้มีการสืบทอดมารุ่นสู่รู่น จนมีผลงานต่างๆมากมาย เช่น
การ์ตูนดัง โดยที่เด็กๆหลายคนน่าจะเคยได้ยินหรือได้ชมมาบ้างแล้ว  คือ
 เรื่อง ราพัลเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแซบ
ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ (อังกฤษTangled) เป็น ภาพยนตร์เพลงแนวตลก/เพ้อฝัน สัญชาติอเมริกัน ซึ่งสร้างด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน โดย วอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์ เมื่อ พ.ศ. 2553 และเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันซึ่งฉายในโรงภาพยนตร์เป็นลำดับที่ 50 ของวอล์ดิสนีย์ มีเนื้อหาอิงเทวนิยายเยอรมันเรื่อง ราพันเซล (Rapunzel) ของพี่น้องกริม อย่างหยาบ ๆ และในภาคภาษาอังกฤษ ตัวละครเด่น ๆ นั้นให้เสียงโดย แมนดี มัวร์ซาชารี เลวี และดอนนา เมอร์ฟีย์
จำเดิม ชื่อภาษาอังกฤษของภาพยนตร์นี้คือ Rapunzel แต่ก่อนออกฉายเล็กน้อย ได้เปลี่ยนเป็น Tangled แทน โดยออกฉายในโรงภาพยนตร์ระบบสามมิติเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 ส่วนในประเทศไทย ฉายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 การจัดสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้เวลาถึงหกปี และแอลเอไทมส์รายงานว่า ใช้ทุนไปราว ๆ สองร้อยหกสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ใช้จ่ายเงินไปมากที่สุดทีเดียว


                                                  ตัวละคร

ชื่อพากย์
อังกฤษไทย
ราพันเซล (Rapunzel)แมนดี มัวร์ (Mandy Moore)ชนนัยน์ สุขวัจน์
ยูจีน ฟิตซ์เฮอร์เบิร์ต (Eugene Fitzherbert)
หรือ ฟลิน ไรเดอร์ (Flynn Rider)
ซาชารี เลวี (Zachary Levi)อภินันท์ ธีระนันทกุล พูด
สุเมธ องอาจ ร้อง
กอเธล (Gothel)ดอนนา เมอร์ฟีย์ (Donna Murphy)สุกานดา บุณยธรรมิก
พี่น้องสแตบบิงตัน (Stabbington Brothers)รอน เพิร์ลแมน (Ron Perlman)สปัลศิลป์ ศิริชัย
โจรมือตะขอ (Hook-Hand Thug)แบรด การ์เรต (Brad Garrett)เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง พูด
กฤษณะ ศฤงคารนนท์ ร้อง
โจรจมูกใหญ่ (Big Nose Thug)เจฟฟรีย์ แทมเบอร์ (Jeffrey Tambor)
วแลเดมีร์ (Vladamir)ริชาร์ด คีเอล (Richard Kiel)สปัลศิลป์ ศิริชัย
โจรเตี้ย (Short Thug)พอล เอฟ. ทอมป์กินส์ (Paul F. Tompkins)เอกชัย พงศ์สมัย
โจรเลิฟลอร์น (Lovelorn Thug)กฤษณะ ศฤงคารนนท์
หัวหน้าราชองครักษ์ (Captain of the Guard)เอ็ม. ซี. เกนีย์ (M. C. Gainey)เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง
ราชองครักษ์ (Guard)ทอม เคนนีย์ (Tom Kenny)
พาสกาล (Pascal)แฟรงก์ เวลเกอร์ (Frank Welker)
แม็กซิมัส (Maximus)
หมายเหตุ:        = ไม่ทราบ   และ        = ใช้เสียงดั้งเดิม
อนึ่ง ในฉบับภาษาไทยนั้น นอกจาก กฤษณะ ศฤงคารนนท์ จะพากย์ด้วยแล้ว เขายังเป็นผู้กำกับการพากย์ด้วย ส่วนบทภาษาไทยนั้น ธนัชชา ศักดิ์สยามกุล แปล


                                                  เนื้อเรื่อง

หยาดแสงอาทิตย์หยาดหนึ่งตกลงสู่พื้นโลก และงอกงามขึ้นเป็นบุปผาเรืองแสงประกอบด้วยสรรพคุณเยียวยาความป่วยเจ็บ หญิงชรานางหนึ่งชื่อว่า กอเธล พบเจอเข้า จึงใช้มันเพื่อบันดาลให้นางงดงามและเยาว์วัยดุจหญิงสาว โดยวิธีร้องเพลงมนตร์แก่บุปผานั้นว่า "บุปผาเรืองแสงส่อง เปล่งฤทธาของเจ้า ช่วยย้อนวันให้เรา คืนสิ่งที่เคยได้ครอง" นางนำสุ่มมาครอบบุปผานั้นเอาไว้เพื่อเก็บไว้ใช้แต่ผู้เดียว
เวลาผ่านมาหลายร้อยปี เกิดมีอาณาจักรขึ้นบริเวณนั้น ราชินีอันเป็นที่รักแห่งอาณาจักรดังกล่าวประชวรขณะให้ประสูติกาล ทหารและพลเมืองช่วยกันค้นหาวิธีแก้ไข และพบบุปผานั้นเข้าโดยบังเอิญ ราชินีทรงได้รับการรักษา และมีประสูติกาลแก่ธิดาพระนามว่า ราพันเซล ผู้มีเกศางามดังทอง และบัดนี้ เกศาของพระธิดากลายเป็นแหล่งสรรพคุณวิเศษของบุปผานั้นแทน ในคืนนั้น กอเธลลักพาพระธิดาไปซ่อนไว้ในหอคอยสูงกลางป่า แล้วเลี้ยงดูประดุจบุตรในอุทร เพื่อใช้ผมของราพันเซลช่วยให้นางคงความเยาว์วัยและสวยสด นางทราบดีว่า ถ้าตัดผมของราพันเซลออก ผมนั้นจะเสื่อมสรรพคุณ และเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีน้ำตาลทันที ดังนั้น นางจึงปล่อยให้เกศาของราพันเซลยาวโดยมิได้ตัดเลย และมิให้ราพันเซลออกนอกหอคอยเลย ทั้งนี้ ทุก ๆ ปี ในวันคล้ายวันประสูติของราพันเซล พระราชาและราษฎรของพระองค์จะปล่อยโคมลอยนับแสนดวงขึ้นสู่ฟ้า พวกเขาหวังว่าโคมลอยจะนำพาพระธิดาของพวกเขากลับมาอีกครั้ง
ในวันก่อนวันคล้ายวันประสูติปีที่สิบแปดของราพันเซล เธอขอให้กอเธลอนุญาตให้เธอออกไปดูโคมลอยนอกหอคอย แต่กอเธลไม่อนุญาต และให้สาเหตุว่า โลกภายนอกมีแต่ภยันตรายและความชั่ว
ขณะเดียวกัน กลุ่มโจรกลุ่มหนึ่ง นำโดย ฟลิน ไรเดอร์ ชายหนุ่มรูปงาม ได้โจรกรรมศิราภรณ์ที่สร้างไว้สำหรับเจ้าหญิงผู้หายไปไปจากพระราชวัง ในระหว่างเหล่าองครักษ์ไล่ตามกลุ่มโจรอย่างติดพันนั้น แม็กซิมัส ม้าของหัวหน้าองครักษ์ คลาดจากกลุ่มโดยไม่มีผู้ขี่ ม้าแม็กซิมัสจึงออกตามล่าฟลินเอง ในเวลานั้น ฟลินหลอกเอาศิราภรณ์ไปจากเพื่อนร่วมกลุ่ม แล้วหนีขึ้นไปซ่อนตัวที่หอคอยของราพันเซลซึ่งเขาพบโดยบังเอิญ แต่เขาถูกราพันเซลฟาดด้วยกระทะจนสลบไป เธอซ่อนเขาไว้ในตู้เสื้อผ้าของเธอ แล้วริบศิราภรณ์ไว้
เมื่อกอเธลกลับมา ราพันเซลขอให้นางไปเก็บเปลือกหอยมาให้เป็นของขวัญวันเกิด เพื่อนำมาทำสีระบายภาพ กอเธลยอมใช้เวลาเดินทางสามวันไปเอาของขวัญมาให้ ระหว่างนั้น ราพันเซลตกลงกับฟลินว่า ถ้าอยากให้ศิราภรณ์คืน ให้พาเธอออกไปนอกหอคอย เพื่อไปชมดูเหล่าโคมลอย ที่เธอเข้าใจว่าเป็น "หมู่ดาว" อันจะปรากฏขึ้นทุก ๆ วันคล้ายวันเกิดของเธอ ฟลินพยายามให้ราพันเซลเลิกเดินทางแล้วกลับหอคอยไปเสียโดยพาเธอไปค้างแรมที่ร้านลูกเป็ดหน่อมแน้ม (Snuggly Duckling Parlor) ที่เต็มไปด้วยคนเถื่อนชาวไวกิง ทว่า ชาวไวกิงกลับเอ็นดูราพันเซล และราพันเซลแนะนำให้พวกเขาทำความฝันของตนให้สำเร็จ เหมือนที่เธอกำลังจะไปดูโคมลอยที่ฝันหามานาน
ระหว่างเดินทาง กอเธลพบม้าแม็กซิมัสที่ไม่มีคนขี่ และเกิดกังวลขึ้นมาว่าจะมีคนไปพบราพันเซลขึ้น เธอรีบกลีบไปยังหอคอย แต่พบว่าราพันเซลไม่อยู่แล้ว ขณะนั้น เหล่าองครักษ์มาถึงร้านลูกเป็ดหน่อมแน้มเพื่อจับกุมฟลิน แต่ชาวไวกิงช่วยฟลินและราพันเซลหนีไปได้ การไล่ล่ายุติลงเมื่อม้าแม็กซิมัสทำให้เขื่อนแตก และฟลินกับราพันเซลติดอยู่ในถ้ำน้ำท่วมไร้ทางออก เมื่อคิดว่าตนกำลังจะใกล้ความตาย เขาสารภาพว่า อันที่จริงตนเองชื่อ ยูจีน ฟิตซ์เฮอร์เบิร์ต ส่วนราพันเซลก็สารภาพว่าเธอมีเกศาวิเศษที่เรืองแสงได้เวลาที่เธอร้องเพลงมนต์ ทันใด ผมของเธอก็เรืองแสงขึ้นและชี้ทางออกให้แก่คนทั้งสอง ทั้งคู่จึงออกจากถ้ำปิดตายนั้นได้ และราพันเซลได้ใช้ผมของเธอเยียวยาบาดแพลของยูจีน คืนนั้น กอเธลติดตามมาพบราพันเซล และบอกเธอว่า ยูจีนไม่สนใจเธอจริง เขาประสงค์เพียงได้ศิราภรณ์เท่านั้น โดยกอเธลยืนยันให้ราพันเซลทดสอบยูจีนโดยคืนศิราภรณ์ให้ดู
เช้าวันต่อมา ม้าแม็กซิมัสพบยูจีน แต่ได้กลายเป็นเพื่อนกับราพันเซลไป และยอมร่วมทางไปกับคนทั้งสองเพื่อกลับอาณาจักรแล้วพาราพันเซลไปดูโคมลอย ราตรีนั้น ยูจีนพาราพันเซลล่องลอยไปกลางอ่าวหน้าพระราชวังเพื่อชมดูโคมลอยอย่างใกล้ ๆ ณ ที่นั้น ราพันเซลคืนศิราภรณ์ให้เขา แต่เขากล่าวว่าเขาไม่ต้องการมันอีกต่อไปแล้วเมื่อเขาได้พบเธอ ทันใด เขาสังเกตเห็นเพื่อนโจรของเขาที่เขาทิ้งมา เขาจึงละราพันเซลไปพบเพื่อนเพื่อยกศิราภรณ์ให้ ทว่า เพื่อนโจรจับเขามัดติดกับเรือแล้วให้แล่นเข้าไปในท่าของพระราชวัง พวกเขาบอกแก่ราพันเซลว่า ยูจีนทรยศความรู้สึกของเธอโดยชิงศิราภรณ์จากไปแล้ว และพวกเขาจะจับเธอเพื่อเอาผมเธอไปขายเสียเดี๋ยวนี้ แต่กอเธลช่วยราพันเซลไว้ได้ และพาเธอกลับหอคอย ทว่า ทั้งหมดนี้เป็นแผนการของกอเธล วันนั้น ยูจีนถูกจับ และพิพากษาประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ม้าแม็กซิมัสจึงนำพาชาวไวกิงที่ร้านลูกเป็ดหน่อมแน้มมาช่วยยูจีน และไปช่วยราพันเซลที่หอคอยกัน
ราพันเซลคิดทบทวนเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้พบขณะเดินทางไปดูดูโคมลอย เธอจึงทราบว่า เธอคือเจ้าหญิงที่หายไปจากอาณาจักร และพยายามจะหลบหนี กอเธอจึงจับเธอไว้ และเมื่อยูจีนมาถึงหอคอย กอเธลแทงเขาจากข้างหลัง แล้วกล่าวว่านางจะพาราพันเซลหนีไปอยู่ที่อื่นแล้ว แต่ราพันเซลขอให้เธอให้ใช้ผมรักษายูจีนก่อน เธอจะยอมเป็นของกอเธลตลอดไป ก่อนราพันเซลจะได้ช่วยเยียวยายูจีน ยูจีนคว้าเศษกระจกมาตัดผมของราพันเซลเสียจนสั้น เกศาของราพันเซลจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและสูญเสียสรรพคุณไป กอเธลบันดาลโทสะเป็นอันมาก และร่างกายนางก็เปลี่ยนกลับสู่ความชราอย่างรวดเร็ว จนนางมิอาจยอมรับเงาของตนในกระจกได้ และใช้ผ้าคลุมปิดหน้าตนเองไว้ ด้วยความโกรธและตระหนก นางสะดุดพุ่งออกจากประตูหอคอย ดิ่งลงสู่พื้นเบื้องล่าง ร่างกายของนางก็ร่วงโรยขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนนางจะปะทะกับพื้นแล้วป่นเป็นเถ้ากระดูกไป
ยูจีนค่อย ๆ ตายลงในอ้อมแขนของราพันเซล ด้วยความเสียใจ ราพันเซลร้องไห้และร้องเพลงมนต์ หยาดน้ำตาของเธอหยดลงบนแก้มของยูจีน และยังให้เขาฟื้นจากความตายอีกครั้ง ทั้งสองกอดและจูบกัน แล้วพากันกลับอาณาจักร พระหทัยของราชาและราชินีนั้นท้นไปด้วยน้ำตาของความปีติที่ได้พบพระธิดาอีกครั้ง หลายปีต่อมา ยูจีนและราพันเซลเสกสมรสกัน ส่วนชาวไวกิงก็ทำความฝันของพวกตนให้เป็นจริง ฝ่ายม้าแม็กซิมัสนั้นก็ได้บรรจุเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นสูงในกององครักษ์
ราพันเซล
เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ
Tangled
Theatrical release poster
ป้ายประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์
กำกับโดย
• นาธาน เกรโน (Nathan Greno)
• ไบรอน ฮาวเวิร์ด (Byron Howard)
อำนวยการสร้างโดย
• รอย คอนลี (Roy Conli)
• จอห์น แลสเซเทอร์ (John Lasseter)
• เกล็น คีแอน (Glen Keane)
เขียนบทโดย
แดน โฟเกิลแมน (Dan Fogelman)
อ้างอิงจาก
บรรยายโดย
ซาชารี เลวี (Zachary Levi)
นำแสดงโดย
• แมนดี มัวร์ (Mandy Moore)
• ซาชารี เลวี (Zachary Levi)
• ดอนนา เมอร์ฟี (Donna Murphy)
เพลงประกอบ
ภาพยนตร์โดย
เพลง:
อลัน เมนเคน (Alan Menken)
เนื้อเพลง:
เกล็น สเลเทอร์ (Glenn Slater)
ตัดต่อโดย
ทิม เมอร์เท็นส์ (Tim Mertens)
ค่าย
จัดจำหน่ายโดย
ฉาย
Flag of the United States.svg 24 พฤศจิกายน 2553
Flag of Thailand.svg 3 มีนาคม 2554
ความยาว
100 นาที
ประเทศ
สหรัฐอเมริกา และอื่น ๆ
ภาษา
อังกฤษ และอื่น ๆ
งบประมาณ
$260 ล้าน
รายได้
$590,721,936

และเว็บอื่นๆ


วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Leonardo da Vinci

    รวมประวัติ Leonardo da Vinci         



Let no man who is not a Mathematician read the elements of my work.

เลโอนาร์โด ดาวินชี มีชื่อเต็มว่า เลโอนาร์โด ดี เซร์ ปีเอโร ดาวินชี (นายสิงห์ บุตรปีเอโร ณ (เมือง)วินชี)
เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452  ช่วงกลางยุคเรอเนซองซ์พอดิบพอดี
เขาประกาศตนอย่างเท่ตั้งแต่ยังเป็นเด็กว่า “ข้า ลีโอนาร์โด สักวันจะรู้ศาสตร์และศิลป์ทั้งปวงซึ่งจะไขปริศนาจักรวาล”


เลโอนาร์โดหัดวาดภาพเองตั้งแต่เด็ก  ต่อมา  เมื่ออายุได้ราว 14-15 ปี  คุณพ่อเกิดเห็นแวว  เลยส่งผลงานไปให้เพื่อนศิลปินชื่อ อันเดรอา เดล เวร์รอกชีโอ (Andrea del Verrocchio) ดู  จากนั้น  เลโอนาร์โดก็ได้เข้าฝึกงานในโรงศิลปะของศิลปินท่านนี้...ซึ่งก็ไม่ใช่ระดับกระจอก เพราะเป็นโรงศิลปะระดับท็อปทูของกรุงฟลอเรนซ์ซึ่งเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในยุคนั้น  ศิลปินในค่ายก็คุณภาพคับแก้ว เช่น ศิลปินรุ่นพี่อย่าง ซานโดร บอตติเชลลี (Sandro Botticelli) ผู้เขียนภาพ “The Birth of Venus”
The Birth of Venus
(The Birth of Venus)

เมื่อเลโอนาร์โดอายุได้ 20 ปี  เวร์รอกชีโอได้ให้เขาช่วยเขียนวิวฉากหลังสุดและเทวดา ในภาพ “The Baptism of Christ” เล่ากันว่า...เมื่อเวร์รอกชีโอได้เห็นฝีมือของศิษย์  ถึงกับลั่นวาจาเลิกจับพู่กัน
The Baptism of Christ
(The Baptism of Christ)
ดูเหมือนว่า...หนุ่มเลโอนาร์โดจะเก่งไปเสียในทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาจับ  ทั้งศิลปะ  ดนตรี  กีฬา  เสียอย่างเดียว  อาจเพราะเขาเป็นคนอยากรู้อยากเห็นไปเสียทุกเรื่อง  มีไอเดียใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาตลอด...ก็เลย...ทำอะไรต่อเนื่องไม่ค่อยจะรอด

ตลอดชีวิตของเลโอนาร์โด......เขาเขียนหนังสือไม่เคยเสร็จเลยแม้แต่เล่มเดียว  และเขียนภาพเสร็จเพียงสิบกว่าภาพเท่านั้น 

เลโอนาร์โดเชื่อในพระเจ้า แต่เป็นพระเจ้าในธรรมชาติ  แม่แห่งสรรพสิ่ง (Mother of Nature)
เขามีความคิดพ้องกับอริสโตเติล  แต่ไม่ทั้งหมด  และได้แนวคิดมากมายจากกระแสมนุษยนิยม  ขณะเดียวกันก็คิดต่างมากมายเช่นกัน  นักปราชญ์โบราณอย่าง อาร์คีมีดิส จุดประกายความคิดของเลโอนาร์โดเป็นอย่างมาก  และเป็นแรงผลักดันให้เขาพยายามเรียนภาษาละติน  แต่เขาก็ไม่เคยทนเรียนได้สำเร็จ  ความไม่รู้ภาษาละตินจึงกลายเป็นปมด้อยเล็ก ๆ ของเขา

แต่เราอยากจะบอกว่า...ไม่ใช่แค่แนวคิดของเขาเท่านั้นที่ค่อนข้างแหวกแนวจากคนในยุคเดียวกัน  สไตล์การแต่งตัวก็แหวกด้วย
ในขณะที่ผู้ชายสมัยนั้นเขาสวมชุดยาว ๆ สีขรึมๆ กัน  หนุ่มเลโอนาร์โดกลับใส่ชุดสีกุหลาบชมพูอมส้ม...สั้นแค่เข่า...

(รูปหล่อบรอนซ์ "David"ฝีมือเวร์รอกชีโอนี้ เชื่อว่า เลโอนาร์โด ดาวินชี เป็นนายแบบ)
เมื่ออายุได้ 24 ปี  เลโอนาร์โด ดาวินชี ถูกฟ้องถึงสองครั้งในข้อหามีเพศสัมพันธ์กับนายแบบอายุ 17 ปี ชื่อ จาโกโป ซาลตาเรลลี (Jacopo Saltarelli)  เลโอนาร์โดถูกสั่งจำคุกสองเดือนก่อนได้รับการปล่อยตัวออกมาเพราะขาดหลักฐาน
เลโอนาร์โดไม่เคยแต่งงาน  ไม่มีวี่แววว่าจะมีคนรัก  หลังผ่านเหตุการณ์ดังกล่าว...
อีกหลายปีต่อมา  เขาได้รับอุปถัมภ์เด็กชายหน้าตาดีคนหนึ่ง  เด็กคนนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ อิล ซาไลโน ( Il Salaino - เจ้าวายร้ายน้อย)  และต่อมาของต่อมา  ในปี ค.ศ. 1506 เลโอนาร์โดได้พบ ฟรานเชสโก เมลซี (Francesco Melzi) ในวัย 15 ปี  โดยเมลซีได้บรรยายความรู้สึกของเลโอนาร์โดที่มีต่อตนเองไว้ว่า “เป็นความรักที่ดื่มด่ำและร้อนแรงอย่างยิ่ง”  หลังจากนั้น...เลโอนาร์โดและสองหนุ่มก็ได้ร่วมกันเดินทางไปทั่วอิตาลี

ย้อนกลับมาหลังเหตุการณ์โดนฟ้อง  เลโอนาร์โดลาออกจากโรงศิลปะของเวร์รอกชีโอ  กลายมาเป็นศิลปินเดี่ยว  เข้าใจว่าไส้แห้งเพราะไม่ค่อยจะทำงานสำเร็จ  แต่ก็ยังมีคนจ้างเพราะฝีมือดี
เลโอนาร์โดได้รับงานวาดภาพ "Adoration of the Magi" อันโด่งดังในช่วงนี้เอง  แต่ก็อย่างว่า  วาดเสร็จซะที่ไหน  ภาพนี้ยังวาดไม่เสร็จ  ยังไม่ได้เริ่มลงสี  มีแค่ภาพร่างสีน้ำตาล...ซึ่งกลายเป็นว่าโดดเด่นมีเอกลักษณ์เหลือเกินในยุคปัจจุบัน

(Adoration of the Magi)
ห้าปีต่อมา  เลโอนาร์โดย้ายออกจากฟลอเรนซ์ไปอยู่มิลาน  ว่ากันว่าเป็นเพราะเลโอนาร์โดเริ่มเบนความสนใจไปยังสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  แต่คิดเล่นขำ ๆ ได้ว่าอาจเป็นเพราะฟลอเรนซ์มีศิลปินฝีมือดีอยู่เยอะ  นอกจากศิลปินเหล่านั้นจะเก่งแล้ว...ยังทำงานเสร็จอีกต่างหาก!  เลโอนาร์โดที่ทำงานไม่ค่อยจะเสร็จเลยต้องอพยพหาแหล่งใหม่ตามระเบียบ...

ณ มิลาน  เลโอนาร์โดได้ทำงานให้กับผู้ทรงอำนาจเทียบเท่าตระกูลเมดิชีแห่งฟลอเรนซ์  ได้แก่ตระกูลสฟอร์ซา (Sforza) แห่งมิลาน  โดยสัญญาว่าจะสร้างรูปประติมากรรม ฟรานเชสโก สฟอร์ซา ขี่ม้า แบบยิ่งใหญ่อลังการ  แต่เอาเข้าจริงสิ่งที่เขาได้ออกแบบเป็นส่วนใหญ่ได้แก่เครื่องจักรกลสงคราม  แถมเมื่อออกแบบเครื่องยนต์กลไกไปนาน ๆ เขาก็เริ่มเบนความสนใจไปที่คนในเมือง
เลโอนาร์โดมักจะสะกดรอยตามคนในเมืองที่เขาติดใจทั้งวันเพื่อสเกตซ์ภาพ...
ในช่วงนี้  เขาได้ร่างหนังสือทฤษฎีและเทคนิคการวาดภาพ
ต่อมา  เลโอนาร์โดได้ศึกษาเรื่องกายวิภาคอย่างจริงจัง  และนำความรู้ที่ได้ไปเทียบกับทฤษฎีโบราณของ วิทรูเวียส (Vitruvius) สถาปนิกยุคจักรวรรดิโรมัน  ซึ่งอธิบายโครงสร้างสัดส่วนมนุษย์ไว้อย่างละเอียด  โดยสรุปว่า  เมื่อคนยืนกางแขนกางขา  ก็จะลงพอดีในกรอบรูปวงกลมและจัตุรัส  เป็น homo ad circulum และ homo ad quaratum (คนในวงกลม – คนในจัตุรัส) จนกระทั่งสามารถสร้างภาพ Vitruvian Man อันลือลั่นได้สำเร็จ

(Vitruvian Man)
ในช่วงที่เลโอนาร์โดรับใช้สฟอร์ซา  เขาหมกมุ่นในเรื่องการบินมาก  เขาได้ร่างภาพสเกตซ์เกี่ยวกับการบินกว่า 500 ภาพ  และคำบรรยายประกอบภาพก็มีมากกว่า 4,000 คำ  เขาได้ลองออกแบบและพัฒนาเครื่องร่อน( The Wing Glider) แต่การทดลองบินทุกครั้งประสบความล้มเหลว  อย่างไรก็ดี  จินตนาการของเขากลายเป็นความจริงต่อมาในยุคปัจจุบัน 
(ภาพสเกตซ์ของดาวินชี)

(ภาพจากเกม Assassin's Creed II)
ในปี ค.ศ. 1494
ฝรั่งเศสยกทัพมาปิดล้อม...มิลานเกิดความระส่ำระสาย
โลหะที่เตรียมไว้หลอมประติมากรรม สฟอร์ซา ขี่ม้า (ที่กล่าวถึงเมื่อสี่ย่อหน้าก่อน...แหะ ๆ เผื่อลืม) ได้ถูกนำมาทำลูกปืนเสียหมด  แถมเมื่อกรุงแตกในปี ค.ศ. 1499  พลธนูฝรั่งเศสยังเอารูปปั้นม้าดินที่ทำไว้เป็นแบบรูปหลอมดังกล่าวมาเป็นเป้าซ้อมยิงจนชำรุดเสียหาย  สรุปแล้ว  แผนสร้างประติมากรรม สฟอร์ซา ขี่ม้า  อันอลังการก็เป็นอันจบเห่อยู่เท่านี้ 
 15 ปี หลังกรุงมิลานแตก  เลโอนาร์โด ดาวินชี ใช้ชีวิตระเหเร่ร่อนรับงานทั่วอิตาลี  จนกระทั่งกลับมาที่ฟลอเรนซ์  ในช่วงนี้เองที่เขาเริ่มทำภาพระดับตำนานของตำนาน....โมนาลิซา (Mona Lisa)

และในช่วงนี้อีกนั่นแหละ  ที่เขาได้ปะฉะดะกับศิลปินเอกอีกคนหนึ่งในยุคเรอเนซองส์...มีเกลันเจโล (Michelangelo) ศิลปินผู้สร้างงานอย่าง
(Pieta สร้างโดย Michelangelo)

โดยสภาเทศมนตรีเมืองฟลอเรนซ์ได้เสนอให้ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองประชันฝีมือวาดภาพผนังขนาดยักษ์ในห้องโถงของสภา
มีเกลันเจโลเลือกศึกแห่งคาสชินา (Battle of Cascina)
เลโอนาร์โดเลือกศึกแห่งแองกีอารี (Battle of Anghiari)

ลีโอนาร์โดได้บรรยายองค์ประกอบภาพที่คิดไว้ในสมุดบันทึกแบบละเอียดยิบ...ยิบจริง ๆ ไม่ได้ล้อเล่น  พร้อมสเกตซ์ศึกษารายละเอียดประกอบภาพไว้เป็นจำนวนมาก  แต่อย่างที่น่าจะเดาได้...สุดท้าย...เสร็จซะที่ไหนกัน (อา...อีฟล่ะรักคุณสิงห์จัง 555+)
แบบว่า...เนื่องจากถูกมีเกลันเจโลสบประมาทไว้ว่าเป็นคนที่ “ได้แต่คิด  สร้างไม่เป็น”  คุณสิงห์แกเลยรีบลงสีภาพ  รีบทำ  แล้วหัวใสไง...เอาเตาถ่านคุไฟไปอังใต้ภาพหวังให้สีแห้ง  มันก็แห้งน่ะนะ  แห้งแต่ส่วนล่างภาพ  ส่วนบนสีเยิ้มลงมาเลอะเทอะเต็มไปหมด  สรุปว่าภาพพัง  ประกอบกับช่วงนั้นเครดิตคุณสิงห์แกไม่ค่อยดีเนื่องจากไปทำโปรเจ็คต์เปลี่ยนเส้นทางน้ำล่มไม่เป็นท่า  มาเรื่องนี้อีก  สุดท้าย  กรรมการสภาเลยหมดศรัทธา...

(Battle of Anghiari)
ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่ตกต่ำมากในชีวิตของลีโอนาร์โด  เขาเขียนบันทึกเอาไว้ตอนหนึ่ง  ใจความว่า
“ความอดกลั้นต่อการดูถูกเหยียดหยามเป็นเสมือนเสื้อกันหนาว  อากาศยิ่งเย็นเท่าไร  เราก็ยิ่งต้องสวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องตัวเองมากขึ้นเท่านั้น”

ค.ศ. 1513 เลโอนาร์โดย้ายไปรับงานวิศวกรรมกับคาร์ดินัล กีอูลีอาโน เดอ เมดีซี พี่ชายของโป๊บลีโอที่ 10 ณ กรุงโรม  โป๊บไม่ชอบหน้าเขานัก  เมื่อกีอูลีอาโนตายลง  เลโอนาร์โดจึงไม่สามารถอยู่ในโรมได้อีกต่อไป

เลโอนาร์โดออกจากโรมกลับไปยังฟลอเรนซ์และมิลานได้ไม่นาน  พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ก็สวรรคต  พระเจ้าฟรองซัวร์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทน  พระองค์มีพระประสงค์ที่จะอุปถัมภ์เลโอนาร์โดในฐานะปูชนียบุคคล  จึงเสนอรับเลโอนาร์โดมาอยู่ด้วย  ดังนั้นใน ค.ศ. 1516 เลโอนาร์โดและเมลซี  กับคนรับใช้อีกหนึ่งคน  จึงเดินทางไปยังฝรั่งเศส  พร้อมลักลอบนำภาพเขียนที่มีคนว่าจ้างไว้ติดตัวไปด้วยสามภาพ  อันได้แก่

เซนต์จอห์นเดอะแบปทิสต์ (St.John the Baptist)
...ว่ากันว่าภาพนี้คือภาพวาดสุดท้ายของเลโอนาร์โด...
พระแม่มารี เยซูน้อย กับเซนต์แอนน์ (Virgin and Child with St.Anne)
และภาพหญิงชาวฟลอเรนซ์นางหนึ่ง
...ซึ่งภายหลัง  ทั่วโลกรู้จักเธอในนาม โมนาลิซา (Mona Lisa)
ในวัยชรา  ถึงแม้ว่าจะได้มาอยู่สุขสบายกับพระเจ้าฟรองซัวร์ เอาเข้าจริงเลโอนาร์โดก็ไม่ได้ลงมือทำโครงการที่ใฝ่ฝัน  เขามีความคิดที่จะปรับปรุงคุณภาพน้ำในแม่น้ำโซโลน  ปลูกต้นไม้  และฟื้นฟูสภาพดินในท้องที่  แต่ชาวฝรั่งเศสไม่ค่อยให้ความสนใจกับโครงการเหล่านี้  พวกเขาชอบให้เลโอนาร์โดออกแบบปาร์ตี้  ประดิษฐ์ของเล่นหรูหรา...อะไรทำนองนั้น

เมื่อใกล้จะเสียชีวิต  แขนขวาของเลโอนาร์โดเป็นอัมพาต  เขาจึงเขียนพินัยกรรมและได้มอบสมุดบันทึกหลายเล่มให้อยู่ในความดูแลของ ฟรานเชสโก เมลซี  พร้อมกับถามว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้ออกแบบไว้นั้น  มีอะไรบ้างที่ถูกนำไปสร้าง?

อีก 9 วันต่อมา  คือ  วันที่ 2 พฤษภาคม 1519
เลโอนาร์โดสิ้นลมโดยมีภาพ โมนาลิซา ภาพที่เขารักยิ่งอยู่ใกล้ ๆ

ชีวิตของเลโอนาร์โดประสบความผิดหวังหลายครั้ง  เช่น  มีชื่อเสียงเรื่องการวาดภาพไม่เสร็จ  เขียนหนังสือไม่จบสักเล่ม  โครงการที่คิดไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติจริง  ไม่ประสบผลสำเร็จในการทดลองสิ่งประดิษฐ์  ฯลฯ  แต่อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่เขาทิ้งไว้ให้ชนรุ่นหลังก็มีมากมาย  ไม่เพียงแต่ด้านงานศิลปะ  แต่รวมถึงแนวคิดต่าง ๆ

สุดท้ายนี้ ขอยกคำพูดตอนหนึ่งในบันทึกของ เลโอนาร์โด ดาวินชี มาปิดท้าย
“While I thought that I was learning how to live, I have been learning how to die.”


*****************************************

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รูปภาพเพิ่มเติมผลงานฝีมือเรมบรันต์ ฟาน ริเจนี่




























ภาพเหมือนตัวเอง ปี พ.ศ. 2201
แม้มีคนยิงปืนขึ้นหนึ่งนัดด้านหลังชายที่สวมหมวกเหลือง  ดูเหมือนเขาไม่สะทกสะท้าน  หากยังคงพูดกับชายในชุดดำที่ยืนผายมืออยู่ข้าง ๆ  คนอื่นถืออาวุธเป็นหอก  ทวนหัวขวาน  และปืน  สุนัขตัวหนึ่งอยู่ทางขวา ด้านซ้ายเป็นเด็กสาวแต่งชุดสีขาวล้วน  ว่ากันตามจริงแล้วนี่คือภาพที่สับสนวุ่นวาย



ภาพ The Night Watch  ปี พ.ศ. 2185
โกลาหล  คำนี้ผุดขึ้นมาในใจขณะที่ผมกำลังพินิจรูป The Night Watch  ภาพเขียนโด่งดังที่สุดของเรมบรันต์ซึ่งเป็นภาพคนติดอาวุธกลุ่มหนึ่งในกรุงอัมสเตอร์ด้ม  ประเทศเนเธอร์แลนด์  ยุคศตวรรษที่ 17  ขณะจัดแถว  แม้จะเคยมีศิลปินวาดภาพกองกำลังพลเรือนมาหลายครั้งก่อนหน้านี้  แต่ต้องมีการจัดท่าทางให้คนในภาพเพื่อจะบอกได้ง่ายว่าใครเป็นใคร  และไม่มี "องค์ประกอบแปลกปลอม" อย่างเช่น  สุนัขหรือเด็กหญิง  เรมบรันต์ทำลายขนบของการจัดระเบียบที่ยึดถือกันมานาน  และเป็นจิตรกรคนแรกที่หาญกล้าเขียนภาพการจัดแถวที่ดูสับสนวุ่นวายอย่างในภาพนี้  เรมบรันต์ใช้การกระทำเช่นนี้บ่งบอกถึงบุคลิกของเขา  นั่นคือ  หัวแข็ง  ดื้อรั้น  และไม่ฟังใคร

ภายในพิพิธภัณฑ์ริกส์  กรุงอัมสเตอร์ดัม  ประเทศเนเธอร์แลนด์
แม้โดยทั่วไป  อัมสเตอร์ดัมจะเกี่ยวข้องกับภาพ The Night Watch และเรมบรันต์ความจริงก็คือ  จิตรกรผู้นี้ไม่ได้ถือกำเนิดที่นี่  เขาเกิดที่เมืองไลเดนเมื่อ 401 ปีก่อน  เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2149  เป็นลูกคนที่เก้าของเจ้าของโรงสี  เรมบรันต์เข้าโรงเรียนสอนภาษาละตินที่บ้านเกิด และเรียนต่อในมหาวิทยาลัยอีกหลายปีซึ่งเป็นอภิสิทธิ์ที่ใช่ว่าลูกเจ้าของโรงสีทุกรายจะมีได้  ณ เมืองไลเดนนี่เองที่เขาเริ่มต้นศึกษาศิลปะการวาดภาพ  แต่อนาคตของเขากลับรออยู่ที่อัมสเตอร์ดัม  ซึ่งมีภาพลักษณ์ของเมืองหลวงที่ใหญ่โตและภาพรวมที่เป็นนานาชาติ  เป็นแหล่งชุมนุมงานศิลปะอันกว้างขวาง  อีกทั้งยังมีลูกค้าผู้มั่งคั่งมากมาย  ปี พ.ศ. 2174  เรมบรันต์ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่อัมสเตอร์ดัมเป็นการถาวร

ภาพเหมือนซัสเกีย  ปี พ.ศ. 2178
สามปีให้หลัง  เขาแต่งงานกับซัสเกีย ฟาน อายเลนเบิร์ก  ธิดาของนายกเทศมนตรีเมืองลียูวาเดนและเป็นญาติกับพ่อค้างานศิลปะ  การแต่งงานส่งให้เรมบรันต์เข้าสู่แวดวงชั้นสูงยิ่งขึ้นไปอีก  เขาประสบความสำเร็จในฐานะจิตรกรและมีผู้ว่าจ้างให้วาดภาพจำนวนมาก  กระทั่งสามารถซื้อคฤหาสน์หรูในราคาแพงลิบ  กว่าเรมบรันต์และซัสเกียจะย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังใหม่  ก็ต้องผ่านเรื่องเลวร้ายสองครั้งนั่นคือลูกคนโตเสียชีวิตหลังเกิดได้สองเดือน  และลูกคนที่สองก็จากไปเมื่ออายุหนึ่งเดือน

ชีวิตของเรมบรันต์ดูเหมือนจะมีเรื่องสุขและเศร้าเกิดขึ้นต่อเนื่อง  ลูกคนที่สามซึ่งเป็นหญิงก็ตายหลังเกิดได้ไม่กี่สัปดาห์  จากนั้น ติตัส ลูกชายก็ถือกำเนิดขึ้นและโชคดีที่มีชีวิตรอดมาจนโต  แต่ก็เกิดเรื่องเศร้าขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2185  อันเป็นปีที่เขาวาดภาพ The Night Watch  เสร็จ  ซัสเกียก็เสียชีวิตลงคาดว่าด้วยวัณโรค



ภาพเฮนด์ริกเก สตอฟเฟิลส์  ภรรยาลับของเรมบรันต์  ปี พ.ศ. 2191
หลังซัสเกียเสียชีวิต  เรมบรันต์ว่าจ้างหญิงชื่อเคอร์เท เดียริกซ์มาดูแลติตัสซึ่งยังเล็กอยู่  ต่อมาราวห้าปีหรือกว่านั้น  เขาก็จ้างเฮนด์ริกเก สตอฟเฟิลส์มาเป็นแม่บ้าน  และเกิดตกหลุมรักเธออย่างถอนตัวไม่ขึ้น  แต่เคอร์เทอ้างว่าเรมบรันต์เคยสัญญาว่าจะแต่งงานกับเธอ  และเรียกร้องให้เรมบรันต์จ่ายค่าเลี้ยงดูให้เธอเนื่องจากเขาผิดสัญญา  จึงเกิดการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน โดยเคอร์เทกล่าวหาด่าทอเรมบรันต์อย่างสาดเสียเทเสีย  ผลสุดท้ายเรื่องก็ตกเป็นธุระของศาล  ซึ่งตัดสินว่าเขาจะต้องจ่ายเงินปีละ 200 กิลเดอร์  แต่เรมบรันต์ก็โต้กลับและทำให้เคอร์เทถูกกักขังอยู่ในโรงทอผ้าที่เมืองเกาดา  ซึ่งคล้ายกับเรือนจำสมัยนี้

ภาพ The Anatomy Lesson of Dr. Nicolaes Tulp  ปี พ.ศ. 2175

ย้อนกลับไปในวัย 26  เรมบรันต์วาดภาพเหมือนกลุ่มบุคคลภาพแรก ได้แก่ภาพ The Anatomy Lesson of Dr. Nicolaes Tulp ในภาพนั้น  ศาสตราจารย์และบรรดาลูกศิษย์ชะโงกตัวอยู่เหนือซากศพเกือบเปลือยของนักโทษคนหนึ่ง  ความแตกต่างอย่างสำคัญของภาพนี้กับภาพ The Night Watch ก็คือบุคคลในภาพนี้ล้วนวาดขึ้นโดยมีรายละเอียดเดียวกัน  ภาพดังกล่าวแขวนอยู่ที่โรงชั่งน้ำหนักในสมัยยุคกลาง ณ จัตุรัสนิวมาร์คจวบจนถึงศตวรรษที่ 19
มุมมองหนึ่งในภาพเขียนของเรมบรันต์  คงชอบด้านหยาบกระด้างของอัมสเตอร์ดัม  จะมีจิตรกรซักกี่คนในยุคนั้นที่วาดภาพสุนัขกำลังถ่าย  หรือนำเสนอภาพด้านหน้าเต็ม ๆ ของผู้ชายกำลังปัสสาวะ  จะมีใครอื่นอีกที่กล้าร่างภาพผู้หญิงนั่งยอง ๆ ถกกระโปรงขึ้นสูงขณะถ่ายปัสสาวะ  ความกักขฬะเช่นนั้นเป็นอีกด้านของแรมบรันต์จิตรกรขบถหัวรั้น  ซึ่งไม่สนใจธรรมเนียมปฏิบัติของสังคม



อีกมุมหนึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ริกส์
ในปี พ.ศ. 2199  เรมบรันต์ไม่สามารถชำระเงินค่าบ้านหลังใหญ่ที่แพงลิบลิ่วได้  เขาจึงต้องกู้ยืมเงินมาจ่ายค่าบ้านแต่ก็มีปัญหาในการชำระคืนเงินกู้  จึงถูกบีบให้เป็นบุคคลล้มละลาย  ศิลปวัตถุจำนวนมากซึ่งเคยรับใช้เขามาอย่างดีในการเขียนภาพถูกขายทอดตลาด  บ้านเขาก็ถูกนำมาประมูลเช่นกัน  เรมบรันต์ย้ายไปอยู่บ้านเช่าบนถนนเลียบคลองโรเซนครากท์  และอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2212
เรมบรันต์ในวัย 50  กลายเป็นบุคคลล้มละลายความนิยมชมชอบลดน้อยลง  ใช่ว่าทุกคนจะอยากได้ภาพเหมือนที่วาดในสไตล์ของเขาซึ่งสวนกระแสสุดโต่ง  ภาพวาดขนาดมหึมาที่ชื่อ The Conspiracy of the Batavians under julius Civilis ซึ่งแต่เดิมมีขนาดวัดได้ 5.5 X 5.5 เมตร (ปัจจุบันมีขนาด 196 X 309 เซนติเมตร)  และเรมบรันต์ได้รับว่าจ้างให้วาดไปติดที่ศาลาว่าการ (ปัจจุบันคือพระราชวัง) นำไปตั้งแสดงเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะส่งกลับ  อาจเป็นได้ว่าข้าราชการในศาลาว่าการไม่ชอบภาพนั้น  แต่จะเป็นกรณีใดก็ตาม  เรมบรันต์คงต้องไม่พอใจอย่างยิ่ง



ภาพเหมือนติตัส วาดเป็นรูปนักบวช  ปี พ.ศ. 2203
แม้จะอยู่ในวัยชรา  แต่เรมบรันต์ก็ยังไม่วายพบเรื่องเศร้า  นั่นคือลูกชายมาด่วนจากไปเสียก่อน  ลูกซึ่งเป็นแบบให้เขาวาดภาพนักบวชน้อยน่ารัก  และภาพเด็กผู้ชายก้มอยู่เหนือโต๊ะเขียนหนังสือ นัยน์ตาทอดมองเอกสารด้วยท่าทางครุ่นคิด

ภาพเหมือนตัวเอง วาดเป็นพระสาวกปอล  ปี พ.ศ. 2204
บ้านที่เรมบรันต์อาศัยอยู่กระทั่งเสียชีวิตถูกรื้อไป  ป้ายด้านหน้าอาคารเขียนว่า นี่คือตำแหน่งที่ตั้งบ้านหลังสุดท้ายของเรมบรันต์  ปัจจุบันคือบ้านเลขที่ 184 ริมคลองโรเซนครากท์  เป็นร้านขายของเก่าซึ่งสร้างขึ้นเป็นเครื่องเตือนใจว่า  ครั้งหนึ่ง เฮนด์ริกเก สตอฟเฟิลส์และติตัส  เคยประกอบกิจการค้างานศิลปะอยู่ที่นี่เมื่อกว่า 300 ปีก่อน  ภาพเหมือนที่เขาวาดไว้ในช่วงท้าย ๆ ของชีวิต อาทิ ภาพเหมือนตัวเองวาดเป็นพระสาวกปอล  รูปชายชราอ้วนกลม  แววในดวงตาบ่งบอกว่าเจ้าตัวเคยผ่านความรุ่งโรจน์มามาก  แต่กลับแฝงความทุกข์ระทมไว้มากกว่า  เรมบรันต์ช่างซื่อตรงต่อตัวเองยิ่งนักจนเกือบจะเป็นความไร้ปรานี  กล้าเขียนรูปตัวเองในสภาพอ้วนฉุ  นัยน์ตาแฝงแววเศร้า  นี่เองคือความเลิศเลอของภาพเหมือนฝีมือจิตรกรชาวดัตช์  
เมื่อมองผลงานสร้างสรรค์ของเรมบรันต์  เราจะรู้จักกับคนจริง ๆ ที่มีเลือดเนื้อ  ในแต่ละปี  ผู้คนหลายพันคนจากทั่วทุกมุมโลกไปกรุงอัมสเตอร์ดัม  เพื่อทำความรู้จักกับเขาตราบเท่าที่ภาพเขียน  งานแกะสลัก  และภาพวาดเส้นของเขายังอยู่  เรมบรันต์ก็จะไม่มีวันตาย